ARTICLES > IT Update

ว่าด้วย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ปี 2559 Turn Back

2016-12-20 15:20:54

 

กลายเป็นประเด็นทางสังคมที่น่าจับตามอง กับเรื่องพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ปี 2559
ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบจาก สนช. มาหมาดๆ
วันนี้ผมจะสรุปเนื้อหาวรรคตอนที่สำคัญใน พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2559 มานำเสนอในข้อที่ใกล้ตัว
ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากฉบับเก่า เผื่อจะเป็นแนวทางและวิถีปฎิบัติสำหรับคนไอทีอย่างเราๆ

 

1. ประชาชน

  พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 พ.ร.บ ปี 2559
การเจาะระบบ ทำลายระบบ การเข้าถึงบัญชีของผู้อื่นด้วยวิธีการละเมิด ไม่มีโทษเฉพาะ เพิ่มโทษ
การโพสต์ หรือนำเข้าข้อมูลเท็จ มาตรา14(1) ละเมิดผู้อื่น ให้ตีความ,หมิ่นประมาทออนไลน์ เน้นเอาผิดต่อการกระทำที่ประสงค์ต่อทรัพย์
การโพสต์ หรือการนำเข้าข้อมูลเท็จ มาตรา 14(2) กระทบความมั่นคง เอาผิดกับการนำเข้าข้อมูลที่
- เสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
- ทำให้เกิดการตื่นตระหนกแก่ประชาขน
เพิ่มเติม
- เสียหายต่อความปลอดภัยสาธารณะ
- เสียหายต่อเศรษฐกิจ
การโพสต์ ภาพตัดต่อ ผิดเฉพาะภาพคนที่มีชีวิตอยู่ ภาพคนตาย ก็อาจจะผิด
ส่งข้อมูลหรืออีเมลปกปิดแหล่งที่มา (spam) โดยไม่เปิดช่องทางให้ยกเลิก หรือปฏิเสษการรับ ปรับ 200,000 บาท โทษปรับเพิ่มเป็น 2 เท่า

 

 

2. ผู้ให้บริการ

  2550 2559
ปล่อยให้มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฏหมาย หลังจากที่รับแจ้งแล้วเกิน 3 วัน รับผิด ต่อเมื่อจงใจ สนับสนุนหรือยินยอม เกินกำหนด ได้รับโทษเท่าผู้โพสต์  แต่ถ้าลบในเวลาที่กำหนดไม่ต้องรับโทษ
การเก็บข้อมูลการใช้งาน (Log) 90วัน เพิ่มเติมได้ไม่เกิน 1 ปี 90 วัน เพิ่มเติมได้ ไม่เกิน 2 ปี

 

 

3. รัฐฯ

  2550 2559
ข้อกำหนดการปิดกั้นเนื้อหา (Block) - สิ่งที่กระทบความมั่นคงของประเทศ
- เกี่ยวกับการก่อการร้าย
- ขัดต่อศีลธรรม ความงสบเรียบร้อยในสังคม

เพิ่มเติมจากที่มี
- ความผิดทาง พรบ. ความพิวเตอร์ ทุกประเภท
- ความผิดตามกฏหมายอื่นๆ
- ไม่ผิดกฏหมาย แต่ผิดศีลธรรม

การยึด ทำลาย ข้อมูลที่ผิดกฏหมาย เช่น ภาพตัดต่อ ไม่มีระบุ ให้ยึดทำลายได้ รวมทั้งผู้เก็บข้อมูลนั้นไว้ในเครื่องฯ ของตน ก็ให้ลบทำลาย
มิเช่นนั้น จะมีโทษกึ่งหนึ่งของผู้โพสต์
การเข้าถึงข้อมูลที่เข้ารหัส ไม่มี เข้าถึงข้อมูลที่เข้ารหัสแบบ HTTPS ได้
การอนุมัติการปิดกั้นเว็บไซต์ (Block) ผ่านศาล ไม่ต้องผ่านศาล
คณะกรรมการกลั่นกรองตรวจสอบ   เดิมร่าง พรบ. มีคณะกรรมการตรวจสอบ 5 คน
เพิ่มเป็น 9 คน (3 ใน 9 มาจากภาคเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน สื่อสารมวลชน ด้านไอทีหรือจากด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง)

 

สำหรับข้อที่หลายคนเป็นกังวลกันอยู่ตอนนี้ ก็น่าจะมี 2 ข้อใหญ่ คือ


1. การให้อำนาจเข้าถึงข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ หลายฝ่ายก็เกรงว่าข้อมูลเหล่านั้นที่เป็นความลับต่างๆ เช่น ข้อมูลธุรกรรมการเงิน บัตรเครดิต จะไม่เป็นความลับอีกต่อไป แต่ผมคิดว่าคงไม่ใช่ทุกกรณี แต่หากออกมาเป็นกฏหมายจริงก็น่ากลัวเหมือนกัน เพราะจะรับรองได้อย่างไรว่าข้อมูลจะไม่รั่วไหลไปสู่มือผู้ไม่หวังดี


2. การปิดกั้นเว็บไซต์โดยไม่ต้องผ่านอำนาจศาล แต่ให้อำนาจแก่กระทรวงดิจิตอลใช้การพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้น
ข้อนี้เองหลายฝ่ายก็เกรงจะไม่ได้รับความเป็นธรรม หากเนื้อหานั้นไม่ได้ผิดต่อกฏหมาย แต่อาจจะผิดต่อศีลธรรม ความสงบเรียบร้อย ด้วยคำจำกัดความทียังคลุมเครือ แต่ก็ได้เพิ่มคณะตรวจสอบ จาก 5 คน เป็น 9 คน
โดย 3 ใน 9 คนนั้น มาจากภาคเอกชน ก็น่าจะช่วยให้การกลั่นกรองเกิดขึ้นจากหลายส่วน และลดข้อกังขาลงได้บ้าง
 

ในข้อเสียก็มีข้อดี  และในข้อดีก็อาจจะมีข้อเสีย
อยู่ที่ผู้ที่ได้อำนาจนี้ไป จะใช้มันอย่างถูกต้องและยุติธรรมหรือเปล่า

 

Turn Back